เป้าหมายความเข้าใจ : นักเรียนมีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาดำเนินการคูณและการหารได้ อีกทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
.................
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
21-25 พ.ย.59
|
โจทย์
ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
คำถาม
นักเรียนคิดว่าการคูณและการหารเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดตัวเลข
|
วันจันทร์ - อังคาร
ชงครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์กล่องของเล่น เชื่อม - นักเรียนร่วมเลนเกม พร้อมนำเสนอวิธีคิด
*เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้
ชง
ครูพานักเรียนเล่นเมกิจกรรมการคิด
- ทบทวนความรู้จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ทบทวนเกี่ยวกับการคูณและการหารโดยเริ่มจากจำนวน 1หลัก 2 หลักและ 3 หลักตามลำดับ
วันพุธ - วันศุกร์
ชง
- ครูสร้างโจทย์ปัญหาการคูณ เพื่อกระตุ้นการคิด
เชื่อม
- สนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการคูณ
- ครูสร้างโจทย์ปัญหาการหาร เพื่อกระตุ้นการคิด
เชื่อม
- สนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการหาร
- นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
ใช้
- สนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
|
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมคิดได้ไหม - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่และทำใบงาน
ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
|
ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาดำเนินการคูณและการหารได้ อีกทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
............................

_เริ่มจากความง่ายในการวิเคราะห์โจทย์ในรูปแบบต่างๆ ตามความเข้าใจ/ถนัดตามวิธีการคิดที่อต่ละคนเลือกมา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในกระบวนการที่หลากหลาย ..โจทย์ในแต่ละชั่วโมงให้กับพี่ๆไม่มากนัก ก่อนที่พี่ๆจะได้ทบทวนบทเรียนของตนเองเป็นชิ้นงาน
ทำในช่วงหยุดยาวหลายวัน..

ย้อนทวนกันอีกครั้ง ^___^
..... "พี่ๆเห็นจำนวน (ตัวเลข)จากอะไรบ้าง/ตัวเลขมาจากไหน/ พี่ๆจะสร้างโจทย์จากตัวเลขที่ค้นพบอย่างไร" .....
"จากกอไผ่ครับ"
"จากอิฐปูพื้นหน้าเสาธงค่ะ""จากอิฐที่เรายืนเคารพธงชาติ"
"ในร่างกายเราก็มีตัวเลข"
"ก้อนหินก็เป็นตัวเลขได้"...ฯลฯ
..."ตัวเลขอยู่รอบๆตัวเราครู" ..."ใช่ๆครูในจักรวาลก็มีตัวเลข"....
คณิตศาสตร์ (การคิด) พี่ๆป.3
_เริ่มจากความง่ายในการวิเคราะห์โจทย์ในรูปแบบต่างๆ ตามความเข้าใจ/ถนัดตามวิธีการคิดที่อต่ละคนเลือกมา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในกระบวนการที่หลากหลาย ..โจทย์ในแต่ละชั่วโมงให้กับพี่ๆไม่มากนัก ก่อนที่พี่ๆจะได้ทบทวนบทเรียนของตนเองเป็นชิ้นงาน
ทำในช่วงหยุดยาวหลายวัน..
ในการเรียนรู้คณิตฯของพี่ๆ ป.3 คุณครูแป้งได้พาพี่ๆเล่นกิจกรรมการคิด บันทึกการเรียนรู้จากกิจกรรรม ดังนี้
ตอบลบย้อนทวนกันอีกครั้ง.. "พี่ๆเห็นจำนวน (ตัวเลข)จากอะไรบ้าง/ตัวเลขมาจากไหน/ พี่ๆจะสร้างโจทย์จากตัวเลขที่ค้นพบอย่างไร"
.....
"จากกอไผ่ครับ"
"จากอิฐปูพื้นหน้าเสาธงค่ะ""จากอิฐที่เรายืนเคารพธงชาติ"
"ในร่างกายเราก็มีตัวเลข"
"ก้อนหินก็เป็นตัวเลขได้"...ฯลฯ
..."ตัวเลขอยู่รอบๆตัวเราครู" ..."ใช่ๆครูในจักรวาลก็มีตัวเลข"....
คณิตศาสตร์ (การคิด) พี่ๆป.3
#เรียนนอกกะลา
_เริ่มจากความง่ายในการวิเคราะห์โจทย์ในรูปแบบต่างๆ ตามความเข้าใจ/ถนัดตามวิธีการคิดที่อต่ละคนเลือกมา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในกระบวนการที่หลากหลาย ..โจทย์ในแต่ละชั่วโมงให้กับพี่ๆไม่มากนัก ก่อนที่พี่ๆจะได้ทบทวนบทเรียนของตนเองเป็นชิ้นงาน ทำในช่วงหยุดยาวหลายวัน..